งานเซรามิคแฟร์ครั้งที่22 พ.ศ.2552 จังหวัดลำปาง

เชื่องานเซรามิคแฟร์ครั้งที่22เงินสะพัด20ล้าน
คมชัดลึก :สมาคมเครื่องปั้นเดินเผา ดีเดย์เปิดงานเซรามิคแฟร์ครั้งที่ 22 ระบุมีบูธจำหน่ายสินค้ากว่า 300 คูหา-ผู้ประกอบการแห่ลดราคา 40-70% พร้อมจัดโปรโมชั่นนาทีทองซื้อสินค้าราคาบาทเดียววันละกว่าหมื่นชิ้น ตั้งเป้าเงินสะ พัดตลอดจัดงานไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
นางสาวสุปราณี ศิริตานนท์ นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้กำหนดจัดงานเซรามิคแฟร์ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 1-10 ธ.ค. โดยสถานที่จัดงานในปีนี้จะอยู่ตลาดเทศบาล 4 ตรงข้ามห้างบิ๊กซีลำปาง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาจับจ่ายใช้สอยในงานเซรามิกประจำปี ในปีนี้คาดว่าจะมีผู้ประกอบการโรงงานเซรามิกเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 300 โรงงาน และบูธแสดงสินค้าตามโซนต่างๆ รวมแล้วกว่า 300 คูหา
ในการจัดงานจะมีการแบ่งออกเป็นหลากหลายโซน ทั้งโซนโอทอป ที่ได้รับความสนใจจากโอทอประดับ 4-5 ดาวเข้าร่วมออกบูธจำหน่ายสินค้า ศูนย์อาหารที่ในปีนี้จะมีการจัดงานในสไตล์ล้านนา มีกาดหมั้วย้อนยุคโบราณจำหน่ายอาหารล้านนาทั้งหมด โซนการแสดง โซนเซรามิก ฯลฯ โดยตลอดระยะเวลาการจัดงาน 10 วัน โซนเซรามิกจะมีการลดราคาสินค้าตั้งแต่ 40-70% นอกจากนี้ ยังมีการจัดโปรโมชั่นพิเศษช่วงนาทีทอง "ONE-PRICE ONE-BARTH" ที่จะให้ลูกค้าได้ซื้อเซรามิกได้ในราคาเพียง 1 บาทเท่านั้น โดยแต่ละวันจะมีสินค้าราคาพิเศษนี้จำนวน 10,000 ชิ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการแจกกล้าพันธ์ไม้ให้กับลูกค้า ประชาชน และนักท่องเที่ยว ที่มาร่วมงานวันละ 200 ต้น หรือตลอดทั้งงานจะมีการแจกพันธ์ใหม่กว่า 2,000 ต้น โดยกล้าพันธ์ไม้นี้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั้งนี้ คาดว่าการจัดงานครั้งนี้ภายในงานจะมีเม็ดเงินสะพัดทั้งค้าปลีกและออร์เดอร์ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 15-20 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าไว้เท่ากับปีที่ผ่านมา
นางสาวสุปราณี กล่าวต่ออีกว่า สำหรับสถานการณ์ภาพรวมของอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปางนั้น ต้องยอมรับว่าในปีนี้ตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 2552 ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาส่งผลกระทบอย่างเหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายก็ต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดในช่วงที่ออร์เดอร์หายไปเป็นจำนวนมาก พร้อมกับแบกรับภาระที่เกิดขึ้นทั้งค่าจ้างคนงาน และค่าก๊าซแอลพีจีที่มีการรับราคา
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ออร์เดอร์เริ่มกระเตื้องขึ้น โดยผู้ซื้อ ห้างร้านต่างๆ รวมถึงออร์เดอร์จากต่างประเทศ เริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากสต๊อกสินค้าเดิมใกล้จะหมด ทำให้ต้องสั่งสินค้าเพิ่มเติม และจนถึงขณะนี้ไตรมาส 4 ผู้ประกอบการโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปางมีออร์เดอร์กลับมาคึกคักอีกครั้งและเดินเครื่องผลิตอย่างเต็มกำลัง แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดขายในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับปี 2551
ข้อความจาก www.komchadluek.net

ชมเมืองบนรถม้า ลำปาง

ในสมัยหนึ่งรถม้ามีบทบาทอย่างมากในนครลำปาง มีรถม้าที่เรียกกันว่ารถม้าแท็กซี่ คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองนครลำปาง ทั้งไปรับพัสดุภัณฑ์จากสถานีรถไฟมาส่งที่ทำการไปรษณีย์ เป็นรถรับส่งนักเรียน ขนของให้พ่อค้าแม่ค้าเรื่อยไปจนถึงพาคนเจ็บไปโรงพยาบาล ทุกวันนี้มีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยว ทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้าโดยเฉพาะเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปางกำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมืองเล็ก 150 บาท รอบเมืองใหญ่ 200 บาท หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้าศาลากลางหลังเก่า บริการระหว่างเวลา 06.00-16.00 น. ส่วนบริเวณหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง บริการระหว่างเวลา 06.00-23.00 น. หรือติดต่อสมาคมรถม้าลำปาง โทร. 0 5421 9255
เส้นทางรอบเมืองเล็ก ขึ้นที่ศาลากลางเก่ารถจะเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกเข้าถนนทิพย์ช้าง สองฟากถนนมีร้านค้าที่เป็นตึกแถวเก่าๆให้ชมก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่สามแยกการไฟฟ้าฯจะเห็นแม่น้ำวังไหลขนานไปกับถนนทางด้านขวา ผ่านห้าแยกหอนาฬิกา ซึ่งเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของเมืองนักท่องเที่ยวมักถ่ายภาพคู่กับรถม้าเป็นที่ระลึกกันที่จุดนี้ จากนั้นรถม้าจะพาเข้าถนนบุญวาทย์อันเป็นย่านใจกลางธุรกิจการค้า ตึกแถวสองฟากเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ และมาสิ้นสุดตรงจุดเดิม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

เส้นทางรอบเมืองใหญ่ ขึ้นที่ศาลากลางเก่าเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถม้ารอบเมืองเล็กไปจนถึงสามแยกการไฟฟ้าฯ แต่ไม่เลี้ยวซ้ายไปหอนาฬิกาจะตรงไปตามถนนวังขวาเลียบแม่น้ำวัง ผ่านบ้านไม้เก่าชื่อบ้านบะเก่าทางด้านซ้ายมือ ผ่านสวนสาธารณะเขลางค์นคร เลี้ยวซ้ายข้างสวนมาผ่านย่านตลาดอัศวินซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงยามค่ำคืนที่คึกคักบนถนนท่าคร่าวน้อย ผ่านห้าแยกหอนาฬิกาเข้าถนนบุญวาทย์ สิ้นสุดทางที่จุดเดิม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ราคา 200 บาท

หากเช่าเป็นชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเส้นทางชมเมืองได้ตามความต้องการ เช่น ข้ามแม่น้ำวังบนสะพานรัษฎาภิเศก ชมบ้านเสานัก ชมวัดพระแก้วดอนเต้า และวัดต่างๆ และนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก ราคา 300 บาท

อีกเส้นทางหนึ่งคือชมย่านตลาดจีนบนถนนตลาดเก่า ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจในอดีตที่ยังคงสภาพอาคารตึกแถวแบบโบราณไว้ทั้งสองฟาก บ้านเก่าหลายหลังมีลวดลายไม้ฉลุที่งดงาม ชมสถานีรถไฟที่เป็นอาคารแบบโบราณ แวะถ่ายภาพที่ห้าแยกหอนาฬิกาและอาจแวะซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิคบริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาล 4 ที่อยู่ใกล้ๆกับหอนาฬิกา ซึ่งมีให้เลือกหลายร้าน

หากสนใจแหล่งทำรถม้า มีหลายหมู่บ้านซึ่งเป็นแหล่งรวมรถม้าและคนขับรถม้า เช่นบ้านวังหม้อ บ้านท่าคราวน้อย บ้านศรีบุญเรือง บ้านนาก่วมเหนือ และบ้านนาก่วมใต้

ร้านอาหารใน ลำปาง

โกเกียวไก่ย่าง
ที่อยู่ :260/74 ถ.ท่าคร่าวน้อย
โทรศัพท์:0 5421 8026

บ้านคำหวาน
ที่อยู่ :96 ถ.สวนดอก (อาหารพื้นเมือง)
โทรศัพท์:0 5422 2399

พรนารายณ์
ที่อยู่ :ถ.รอบเวียง หลังเรือนจำ (ข้าวหน้าเป็ด, หมูแดง, ปอเปี๊ยะสด, สุกี้)
โทรศัพท์:0 5422 1110

บ้านพลอย
ที่อยู่ :ถ.ซูเปอร์ไฮเวย์ แยกไปเชียงใหม่ ติดร.ร.พาณิชยาการลำปาง (อาหารตามสั่ง)
โทรศัพท์:0 5425 1200

บ้านฝ้าย
ที่อยู่ :206/2 หมู่ 2 ถ.พหลโยธิน ต.พิชัย
โทรศัพท์:0 5422 4602

บ้านริมน้ำ
ที่อยู่ :328 ถ.ทิพย์ช้าง (อาหารพื้นเมือง ไทย ฝรั่ง)
โทรศัพท์:0 5422 1861

แม่แห
ที่อยู่ :1017 ถ. อุปราช (อาหารพื้นเมือง)
โทรศัพท์:0 5422 1904

ริเวอร์ไซด์
ที่อยู่ :ถ.ทิพย์ช้าง (อาหารพื้นเมือง ไทย ฝรั่ง)
โทรศัพท์:0 5422 1861

รีเจนท์ ลอดจ์ & อพาร์ทเมนท์
ที่อยู่ :279/3 ถ.พหลโยธิน ต.หัวเวียง เปิด 19.00-02.00 น.(อาหารฮาลาล ไม่มีหมูปน)
โทรศัพท์:0 5432 3388

เรือนแพ
ที่อยู่ :270 ถ.พหลโยธิน (ถ.ซุปเปอร์สายลำปาง-เชียงราย) ต.หัวเวียง (อาหารตามสั่ง)
โทรศัพท์:0 5422 6979

โอชาวัฒนา
ที่อยู่ :136/34-35 ถ.พหลโยธิน (อาหารจีน)
โทรศัพท์:0 5422 1153, 0 5421 8093

เฮือนชมวัง
ที่อยู่ :ถ.ตลาดเก่า(อาหารพื้นเมือง)
โทรศัพท์:0 5422 2845

ร้าน641
ที่อยู่ :ติด ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ ตรงข้ามสนามบิน (อาหารทะเล)

ข้อมูลจาก:http://www.siammsn.com
โทรศัพท์:0 5422 3641

งานเทศกาลประจำปีของจังหวัดลำปาง

งานแห่สลุงหลวงและสงกรานต์

งานแห่สลุงหลวงและสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ของจังหวัดลำปาง จะจัดในช่วงวันที่ 12-14 เมษายน ของทุกปี ในวันที่ 12 เมษายน จะมีการจัดขบวนแห่สลุงหลวง (สลุง หมายถึง ขันน้ำ) ขบวนตกแต่งสวยงาม ผู้ร่วมขบวนแต่งกายแบบล้านนาโบราณแห่แหนไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 13-14 เมษายน ก็จะเป็นการ ทำบุญที่วัด ก่อเจดีย์ทราย การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำสงกรานต์ การออกร้านจำหน่ายสินค้า การแสดงมหรสพและการแสดงพื้นเมืองต่างๆ

งานหลวงเวียงละคอน

จัดขึ้นในช่วงก่อนวันลอยกระทงของทุกปี บริเวณวัดพระแก้วดอนเต้า และวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นงาน ที่เน้นการแสดงออกถึงประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวลำปาง มีขบวนแห่ครัวทาน ตามประเพณีดั้งเดิมโดยขบวนนั้นจะมีการตกแต่งเครื่องใช้เป็น เสื่อ ถ้วยชาม ช้อน เก้าอี้ ของใช้จำเป็น เป็นเครื่องไทยทานไปถวายวัด

งานขันโตกช้าง

จัดขึ้นทุกวันศุกร์-เสาร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ภายในงานจะแบ่ง ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการแสดงของช้างและขันโตกช้าง ส่วนที่สองเป็นการรับประทาน ข้าวแลงขันโตกของผู้ร่วมงาน

งานเซรามิคแฟร์

จัดขึ้นทุกวันศุกร์แรกของเดือนธันวาคมของทุกปี เป็นเวลา 10 วัน บริเวณงานอยู่ในเขตอำเภอเมือง ลำปาง กิจกรรมจะประกอบด้วย ขบวนแห่ทางวัฒนธรรมในวันแรกของงาน การจัดนิทรรศการ การประกวดผลิตภัณฑ์เซรามิค และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา

ของดีเมืองลำปาง

จังหวัดลำปางตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยการปลูกข้าวเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นข้าพันธุ์ดีมีคุณภาพ ใช้บริโภคและส่งขาย เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ได้มีกลุ่มแม่บ้านได้คิดผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปอาหารจากข้าวมาทำเป็นอาหารหลากหลายรูปแบบ และได้มีการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากข้าวที่ขึ้นชื่อและเป็นที่ยอมรับคือ ข้าวแต๋น ซึ่งมีรสชาติอร่อยถูกปาก คลุกเคล้าด้วยน้ำตาลและน้ำแตงโม มีกลิ่นหอม หวาน ข้าวแต๋นจะมีการดัดแปลงรูปแบบแตกต่างกัน เช่น ทำเป็นรูปทรงกลม รูปหัวใจ ทำให้สะดุดตา ชวนรับประทาน และมีการบรรจุหีบห่อที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยผ่านวิธีการผลิตที่สะอาดและถูกหลักอนามัย
ชาวลำปางยินดีที่จะให้ท่านได้ลิ้มลองของอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ และที่สำคัญราคาถูก สะดวกต่อการพกพาและการให้เป็นของฝากแก่บุคคลที่ท่านรัก

ข้าวแต๋นรสชาติอร่อย ถูกปากถูกใจ
นอกจากข้าวแต๋นที่เลื่องชื่อลือนามของจังหวัดลำปางแล้ว จังหวัดลำปางก็เป็นแหล่งแร่ดินขาวที่ดีกระจายอยู่กันในหลายอำเภอ เช่นที่อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอแจ้ห่ม เป็นต้น แร่ดินขาวมีลักษณะพิเศษสามารถนำมาเผาไฟและมีความแข็งแรง ทนทานมาก เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการทำเซรามิก ซึ่งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักคู่เมืองลำปาง โดยการนำมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นรูปแบบต่าง ๆ
นอกจากแร่ดินขาวแล้วยังมีแร่บอลเคลย์ ซึ่งเป็นแร่ดินชนิดหนึ่งที่มีความเหนียวสูง นำมาผสมกับดินขาว เหมาะในการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีแหล่งผลิตที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น และเซรามิกที่มีคุณภาพจะมีเนื้อสีขาว มีความแกร่ง มีรูปแบบที่สวยงาม ผลิตภัณฑ์ เช่นแจกันดอกไม้ กระถางดอกไม้ สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาตกแต่งบ้านและสวนให้ดูน่าอยู่ยิ่งขึ้น

เซรามิกรูปสัตว์ต่าง ๆ
การนำเซรามิกมาตกแต่งบ้านและสวนเพิ่มความสวยงาม

ของกินและของกำนัล
ของกินที่ขึ้นชื่อของเมืองลำปาง นอกจากข้าวแต๋นแล้ว ก็ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีรสชาติอร่อย ถูกหลักอนามัย ราคาย่อมเยา เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเนื้อหมู ได้แก่ หมูย แหนม หมูฝอย ไส้อั่ว แคบหมู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ เช่น ถั่วสมุนไพร ข้าวตังหน้าหมูหยอง ข้าวเม่าทรงเครื่อง น้ำสมุนไพร ซึ่งอาหารเหล่านี้ถ้าได้ลองลิ่มชิมรสแล้วก็จะติดใจ ถ้าซื้อไปเป็นของฝาก ของกำนัล ก็จะถูกปากถูกใจผู้รับเป็นอย่างยิ่ง
ของกินและของฝากมากมาย เช่น หมูยอ แหนม เป็นต้น
นอกจากผลิตภัณฑ์ที่จะนำเป็นของฝากของกำนัล ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ยังมีงาแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นงานหัตถศิลป์ที่แกะสลักเป็นรูปแบบต่าง ๆ และการนำหวายมาดัดแปลงผสมผสานกับงานแกะสลักไม้ได้อย่างกลมกลืน จึงมีผลิตภัณฑ์หลายแบบที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เพราะผลิตภัณฑ์มีความประณีต คงทน สวยงาม มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่นผลิตภัณฑ์แกะสลักจากหมู่บ้านบ้านหลุก อำเภอแม่ทะ เป็นแหล่งผลิตงานแกะสลักและงานสานที่มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้งานหัตถศิลป์มีคุณค่ามากขึ้น และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปตราบเท่าทุกวันนี้

วัดลำปางหลวงของดีเมืองล้าน

โดย อัญญารัตน์
วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขต อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ห่างจากตัวจังหวัดสิบกว่ากิโลเมตรเท่านั้น เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานเป็นพันปี จุดเด่นของวัดพระธาตุลำปางหลวงนี้ คือพระธาตุที่มีความสวยงามและยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่เอาไว้ ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดคนปีฉลูหรือปีวัว สุ้มประตูโขงสีขาวสวยงามเป็นประตู้ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวมานับไม่ถ้วน ในวัดแห่งภายในวิหารมีประเจ้าล้านทองประดิษฐานเป็นองค์สีทอง ที่สวยงามมาก ซึ่งไม่ว่าใครจะมาดิฉันต้องให้แวะมาเที่ยววัดนี้ทุกคน เดินไปทางวิหารด้านหลังก็จะเห็นเงาประธาตุ หากเดินออกมาอีกนิดจะเห็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตองค์จริงและองค์จำลอง ที่ต้องมาสักการะให้ได้ ภายในยังมีสลุงหลวง คือขันน้ำที่ทำจากเงินแท้ๆ จะให้ประชาชน ได้ชม ในวันสงกรานต์ของทุกๆปี โดยจะนำไปแห่ในตัวอำเภอ และยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจมากๆ เพราะเป็นการรวบรวมเอาของเก่าโบราณที่ปัจจุบันหาชมได้ยากมาจัดแสดง มีตั้งแต่อายุเป็นพันปี ซึ่งหากใครไปชมคงต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ชมของเก่าโบราณนี้เป็นนานๆเหมือนฉัน แน่ๆ ส่วนของแปลกในวัดที่ที่อื่นไม่มี มีที่นี่ที่เดียว ก็มีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นต้นขนุนที่ไม่ออกลูกเนื่องจากถูกสาปแช่งจากพระนางจามเทวีที่ ท่านได้เหยียบเปลือกขนุนล้มจึงได้สาปแช่งไม่ให้ต้นขนุนนั้นมีลูก รอยกระสุนปืนที่ทำการสู้รบในโบราณก็ยังคงมีให้เห็น วัดแห่งนี้ในอดีตทุกๆวันเพ็ญ หรือยี่เป็งจะมีชาวบ้านมานอนทำพิธีที่วัด ไม่ว่าชาวบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหนก็จะเดินมาเพื่อมาเข้าพิธี ตราบจนทุกวันนี้ประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่วัดแห่งนี้ยังคงเป็นศูนย์กลางของชาว บ้านในแถบนี้ไม่เสื่อมคลาย หากสงกรานต์นี้ใครยังนึกไม่ออกว่าจะไปเที่ยวที่ไหนขอแนะนำ วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ เพราะจะมีการแห่พระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของคนลำปาง สลุงหลวง และสรงน้ำพระธาตุในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี นอกจากสิ่งเหล่านี้ ท่านจะได้สัมผัสกับความเป็นล้านนา ภาษา วัฒนธรรมที่ยังคงเหลืออยู่ โดยด้านหน้าวัดจะมีของฝาก ราคาไม่แพง งานนี้ได้ทั้งความเป็นสิริมงคล อิ่มบุญในวันที่ชาวเหนือถือว่าเป็นวันปีใหม่เมือง แล้วยังได้รับความประทับใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองล้านนาไม่รู้ลืม
http://thai.tourismthailand.org/interesting-article/content-612.html

Wat Phra That Chom Ping

Using the same route as Wat Phra That Lampang Luang but taking a left turn at the district office and continue on for 14 kilometres is Wat Phra That Chom Ping. Another age-old temple of Lampang, its unique feature is the reflections in natural colors of Chedi which appear on the floor within the dark interior of the Ubosot.

Lampang

Famous for its horse-drawn carriages and with a rooster as its provincial emblem, Lampang boasts a long history of human settlements on the Wang River basin, some of which dating back to more than 1,000 years. It is rich in archaeological evidence reflecting ancient civilisations of Hariphunchai, Lanna and Burma.

Lampang is administratively divided into the following districts: Muang, Thoen, Mae Phrik, Ngao, Ko Kha, Wang Nuea, Mae Tha, Chae Hom, Sop Prap, Seom Ngam, Hang Chat, Mae Mo and Mueang Pan

Thai Elephant Week

Thai Elephant Week
Date : 12 March 2009
Venue : Thai Elephant Conservation Centre, Lampang
Thailand’s most noble beast, the elephant is the star of two important events this month. In the northern province of Lampang, people interested in the welfare and care of these noble animals gather for Thai Elephant Week, 12 March at the Thai Elephant Conservation Centre.
The scene of documentary films made for worldwide TV audience, the conservation centre, located in Hang Chat district in Lampang province, is a renowned refuge where elephants, both healthy and invalid, can be cared for and respected.
In this day visitors can learn from mahouts about the traditions and practices that help to maintain an elephant’s health and well-being. On the lighter side, visitors can also join the mahouts, feeding the elephants in the style of the northern Khantok dinner. Considered an ancient royal tradition adopted by princes and high-ranking officials of the Lanna Kingdom, the Khantok dinner is at the pinnacle of traditional northern cuisine.

จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปาง :ข้อมูลทั่วไป
ลำปาง หรือเขลางค์นครในอดีต เป็นเมืองที่มีรถม้าเป็นสัญลักษณ์ มีวัดวาอาราม ที่เป็นศิลปะแบบพม่า และลานนาไทย มีโรงเรียนฝึกลูกช้าง ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ลำปางมีเนื้อที่ ๑๒,๕๓๓.๙๖๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก อำเภอเกาะคา อำเภองาว อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอเสริมงาม อำเภอห้างฉัตร อำเภอแม่เมาะ และอำเภอเมืองปาน
จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง ๕๙๙ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๑ หรือ ทางหลวงสายเอเซีย ๓๒ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ถึงลำปางใช้เวลาเดินทางประมาณ ๗ ชั่วโมง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อเชียงรายและพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อสุโขทัย และตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อแพร่
ทิศตะวันตก ติดต่อเชียงใหม่ และลำพูน

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง-อำเภอแม่เมาะ 45 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอเถิน 96 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอแม่พริก 125 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภองาว 83 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอเกาะคา 13 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอวังเหนือ 110 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอแม่ทะ 26 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอแจ้ห่ม 54 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอสบปราบ 59 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอเสริมงาม 40 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอห้างฉัตร 16 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (054)
สำนักงานจังหวัดลำปาง
218-800
ททท. สำนักงานภาคเหนือ เขต 1
248-604, 248-607, 241-466
ตำรวจท่องเที่ยว
1155
ตำรวจทางหลวง ส.ทล.1 กก.5 ตาก
055-511-340
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง
217-017
ตู้ยามแม่สอด
532-222
ตู้ยามคลองขลุง
781-445
รพ.ลำปาง
222-443 , 223-623
รพ.แม่ทะ
289-184
รพ.ห้างฉัตร
269-231
รพ.สบปราบ
296-085
รพ.เกาะคา
281-393
รพ.แจ้ห่ม
271-010
รพ.เสริมงาม
286-029
รพ.เถิน
291-585
รพ.วังเหนือ
279-100
รพ.แม่เมาะ
226-535
ไปรษณีย์จังหวัด
224-069
สถานีขนส่งจังหวัด
217-852
เทศบาลเมือง
218-363-4