ประวัติรถม้าลำปาง โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์

ที่แน่นอนที่สุด รถม้ามาถึงลำปางในรัชกาลที่ 6 เมื่อรถไฟเชื่อมรางมาถึงลำปาง เมื่อปลายปี พ.ศ.2457

ก่อนสร้างสะพานรัษฎาภิเศก 3 ปี คือสะพานสร้างเสร็จเดือนมีนาคม พ.ศ.2460 รถไฟมาถึงลำปาง รถม้าได้ขนย้ายจากกทม.มาถึงลำปางเช่นกัน รถม้าคันแรก ได้แก่ รถม้าของเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต เป็นผู้นำมาใช้ ได้นำรถม้ามาโดยว่าจ้างสารถี ซึ่งเป็นแขกมาจากกรุงเทพฯ เพื่อมาขับรถม้าให้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าของภาคเหนือตอนบน เครื่องอุปโภค และของใช้ต่างๆ เช่น เกลือ รองเท้า เสื้อผ้า น้ำมัน จะต้องขนส่งโดยตรงจากกรุงเทพมหานครเพื่อมาลง และขนส่งต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และต่อไปยังประเทศลาว ด้านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และประเทศพม่าที่อำเภอแม่สาย เชียงราย เช่นกัน รถม้าจึงเกิดความสำคัญในการขนส่งภายในจังหวัดขึ้นตั้งแต่นั้นมา กล่าวได้ว่ารถม้าเป็นเส้นเลือดสายใหญ่ของจังหวัดลำปางไปโดยปริยาย

จากจำนวน 1-2 คันที่เจ้านครนำเข้ามา ก็เพิ่มทวีขึ้นตามลำดับ และเหตุที่ทางกรุงเทพมหานครได้นำรถยนต์เข้ามาวิ่ง ซึ่งสะดวกกว่ารถม้ามาก รถม้าจึงได้อพยพไปตามหัวเมืองต่างๆ อีกหลายหัวเมือง เช่น นครศรีธรรมราช นครราชสีมา แต่เหตุผลใดไม่ปรากฏ จึงไม่มีรถม้าวิ่งในจังหวัดดังกล่าวถึงปัจจุบันนี้ เหมือนจังหวัดลำปาง

ในปี พ.ศ.2490 รองอำมาตย์ตรี ขุนอุทานคดี ได้ก่อตั้งสมาคมล้อเลื่อน และเป็นปีที่ขอจดทะเบียน และในปี พ.ศ.2492 จึงได้ใบอนุญาต และท่านได้เป็นนายกสมาคมรถม้าคนแรก และเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดลำปาง ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกสมาคมรถม้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาคมแรกของจังหวัดลำปาง การขอจดทะเบียนล้อเลื่อน จังหวัดลำปางจึงเป็นจังหวัดเดียวที่มีการจดทะเบียนประเภทล้อเลื่อน ที่จะต้องเสียภาษี และมีป้ายวงกลมอย่างถูกต้องในประเทศไทย การจดทะเบียนรถม้า ต้องเสียภาษีปีละ 5 บาท ต่อ 1 คัน และใบขับขี่จะต้องต่อใบอนุญาต 2 บาทต่อปี

จังหวัดลำปางจึงถือได้ว่าเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนรถม้าที่วิ่งในถนนหลวงที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นแห่งเดียวที่หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย และมากที่สุดในโลก

ในปี พ.ศ.2493 รองอำมาตย์ตรี ขุนอุทานคดี ได้มอบให้เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต เป็นนายกสมาคมรถม้าคนที่ 2 ช่วงเจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เป็นนายกสมาคมรถม้านี้ ถือได้ว่าเป็นยุคทองของรถม้า ซึ่งในปี พ.ศ.2500 รถม้าของจังหวัดลำปางมีถึง 185 คัน ซึ่งถือได้ว่ามีมากที่สุด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมรถม้าขึ้น รถม้าในจังหวัดลำปาง เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Queen Victoria จะมีล้อ 4 ล้อ เบาะหลังเป็นเก๋ง เป็นเบาะใหญ่ นั่งได้ 2 คน และม้านั่งเสริม สามารถนั่งได้อีก 2 คน รวมแล้วรถม้าคันหนึ่ง ถ้าเป็นคนไทย หรือตัวไม่ใหญ่มาก ก็นั่งได้ 4 คน ปกติแล้ว รถม้ารับฝรั่ง เขาจะนั่งเพียง 2 คนเท่านั้น

(ที่มา : จากเอกสาร "เที่ยวลำปาง นั่งรถม้า" จัดทำโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

ข้อความจาก :www.gotomanager.com

ชมเมืองบนรถม้า

นับเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียวที่ได้รับความนิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปางและยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอนของทางภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียวที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

ในสมัยหนึ่งรถม้ามีบทบาทอย่างมากในนครลำปาง มีรถม้าที่เรียกกันว่ารถม้าแท็กซี่ คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองนครลำปาง ทั้งไปรับพัสดุภัณฑ์จากสถานีรถไฟมาส่งที่ทำการไปรษณีย์ เป็นรถรับส่งนักเรียน ขนของให้พ่อค้าแม่ค้าเรื่อยไปจนถึงพาคนเจ็บไปโรงพยาบาล ทุกวันนี้มีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยว ทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้าโดยเฉพาะเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปางกำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมืองเล็ก 150 บาท รอบเมืองใหญ่ 200 บาท หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้าศาลากลางหลังเก่า บริการระหว่างเวลา 06.00-16.00 น. ส่วนบริเวณหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง บริการระหว่างเวลา 06.00-23.00 น. หรือติดต่อสมาคมรถม้าลำปาง โทร. 0 5421 9255 เส้นทางรอบเมืองเล็ก ขึ้นที่ศาลากลางเก่ารถจะเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกเข้าถนนทิพย์ช้าง สองฟากถนนมีร้านค้าที่เป็นตึกแถวเก่าๆให้ชมก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่สามแยกการไฟฟ้าฯจะเห็นแม่น้ำวังไหลขนานไปกับถนนทางด้านขวา ผ่านห้าแยกหอนาฬิกา ซึ่งเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของเมืองนักท่องเที่ยวมักถ่ายภาพคู่กับรถม้าเป็นที่ระลึกกันที่จุดนี้ จากนั้นรถม้าจะพาเข้าถนนบุญวาทย์อันเป็นย่านใจกลางธุรกิจการค้า ตึกแถวสองฟากเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ และมาสิ้นสุดตรงจุดเดิม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

เส้นทางรอบเมืองใหญ่ ขึ้นที่ศาลากลางเก่าเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถม้ารอบเมืองเล็กไปจนถึงสามแยกการไฟฟ้าฯ แต่ไม่เลี้ยวซ้ายไปหอนาฬิกาจะตรงไปตามถนนวังขวาเลียบแม่น้ำวัง ผ่านบ้านไม้เก่าชื่อบ้านบะเก่าทางด้านซ้ายมือ ผ่านสวนสาธารณะเขลางค์นคร เลี้ยวซ้ายข้างสวนมาผ่านย่านตลาดอัศวินซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงยามค่ำคืนที่คึกคักบนถนนท่าคร่าวน้อย ผ่านห้าแยกหอนาฬิกาเข้าถนนบุญวาทย์ สิ้นสุดทางที่จุดเดิม ใช้เวลาประมาณ 40 นาที หากเช่าเป็นชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเส้นทางชมเมืองได้ตามความต้องการ เช่น ข้ามแม่น้ำวังบนสะพานรัษฎาภิเศก ชมบ้านเสานัก ชมวัดต่างๆ และนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก อีกเส้นทางหนึ่งคือชมย่านตลาดจีนบนถนนตลาดเก่า ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจในอดีตที่ยังคงสภาพอาคารตึกแถวแบบโบราณไว้ทั้งสองฟาก บ้านเก่าหลายหลังมีลวดลายไม้ฉลุที่งดงาม ชมสถานีรถไฟที่เป็นอาคารแบบโบราณ แวะถ่ายภาพที่ห้าแยกหอนาฬิกาและอาจแวะซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิคบริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาล 4 ที่อยู่ใกล้ๆกับหอนาฬิกา ซึ่งมีให้เลือกหลายร้าน

ข้อความจาก :www.teawmuangthai.com

เหมืองลิกไนต์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

เหมืองลิกไนต์ เป็นแหล่งถ่านหินลิกไนต์ซึ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ.2498 มีปริมาณถึง 630 ล้านตัน และมีอายุประมาณ 40 ล้านปี พื้นที่เหมืองทั้งหมดเป็นของกรมป่าไม้ มีประมาณ 20,000 ไร่ สามารถใช้ได้อีกประมาณ 50 ปี มีการสร้างโรงไฟฟ้า ที่ใช้ถ่านหินชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงตั้งอยู่หลายโรง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามากถึง 13 เครื่อง ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะถูกนำมาแปรเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้า ส่งไปใช้งานทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สำหรับบ้านเรือน ร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ถึงแม้ นักท่องเที่ยวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปบริเวณขุดเจาะถ่านหินเพราะมี อันตรายจากวัตถุระเบิดที่ใช้ทำเหมือง แต่ กฟผ. ได้จัดทำจุดชมวิวสำหรับ นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นสวนหย่อมตกแต่ง ปลูกไม้ประดับต่างๆ ความสวยงาม ของพันธุ์ไม้ ศาลาชมวิว จุดชมวิว ชมการระเบิดของลิกไนต์ และสามารถ มองเห็นการทำงานของ รถขุดตักแร่ รถขนถ่านหินลิกไนต์ผ่านสายพาน เข้าสู่เครื่องจักรซึ่งอยู่ห่างออกไปเบื้องล่าง ได้เป็นมุมกว้างในบริเวณเหมือง มีบ้านพักรับรองของ กฟผ. สนามกอล์ฟ และสโมสร สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โทร.0 54252730-1 , 0540252724 หรือ www.maemohmine.egat.co.th ,โรงไฟฟ้าแม่เมาะ www.maemoh.egat.com

การเดินทาง ไปตามถนนสายลำปาง-เด่นชัย เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร จากนั้นแยกซ้ายเข้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระยะทางประมาณ13 กิโลเมตร สามารถเช่ารถสองแถวซึ่งจอดอยู่ บริเวณ ตลาดบริบูรณ์ในตัวเมือง หรือที่สี่แยกร้านขายยา ไทยโอสถ ถนนทิพวรรณ ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 30 นาที

Doi Khuntan National Park

Doi Khuntan National Park is located within Lampang and Lamphun, has an area of 225 squarekilometers and an altitude of 1,272 meters. Access to the park is possible by taking Lampang - Lamphun highway and branching off at Km. 47 for 18 kms., but the easiest way is by train to Khuntan station. The Doi Khuntan area was first explored early this century when German engineers were excavating Thailand's longest tunnel (some 1.3 kilometers) on the Bangkok - Chiang Mai railway line. The main trail climbs from Khuntan station to park headquarters and bungalows belonging to the State Railways, a missionary part and the Royal Forestry Department. Camping sites are also available ; campers must bring their own tents and the camping equipment.

The Center is located in Ban Tung Kiewn

The Center is located in Ban Tung Kiewn, Amphoe Hang Chat, on Lampang - Chiang Mai Highway 32 kms. from Lampang. At the center, the elephants's activities such as bathing, working, log pushing, etc. are held for show. In addition, the center has provided elephant riding tourist route.

The Elephant Conservation Centre

The Elephant Conservation Centre is attached to the Veterinary Section of the Northern Timber Work Division of the Forestry Industry Organization and is the first centre in Thailand to train elephants for forest work.

Wat Phrathat Chom Ping

Wat Phrathat Chom Ping is situated at Mu 5, Ban Chom Ping, Tambon Na Kaeo, Amphoe Ko Kha about 26 kms. south - west of Lampang provincial city. The unnatural happening of this temple is the shade of the pagoda reflexed on the floor of the convocation hall through the hole of its window, this similar event also happened at Wat Akkho Chai Khiri, Amphoe Chae Hom in Lampang.

Wat Phrathat Lampang Luang

Lies some 20 kilometers south of Lampang and is one of the North's finest temples. The chedi towers above surrounding trees. To the left of the chedi is a viharn with a carved wood fa?ade and double - level roofs. Harmonious proportions and exquisite interior decoration make Wat Phrathat Lampang Luang one of the best examples of Northern - style religious architecture.

Wat Chedi Sao

(Temple of Twenty Chedis) is also on the right bank of Mae Nam Wang, north of town. The temple is attractively set in an open ricefield. The complex is impressive with its Burmese - style bell - like spires.

Wat Phra Kaeo Don Tao

On the right bank of Mae Nam Wang is an old building which consists of an impressive chedi on a rectangular base with a round spire topped with gilded bronze plaques. A Burmese - style chapel topped by tiered roofs stands against it. The chapel contains a Burmese style Buddha image with particularly interesting decorations. The chapel probable dates from the late 18th century. Beautiful colours and elaborate harmony make Wat Phra Kaeo Don Tao one of Thailand's best examples of Burmese - style temples.

Lampang, North, Thailand

Lampang, is situated on the right bank of Mae Nam Wang and lies 599 kilometers north of Bangkok at the junction of highways of Chiang Rai Chiang Mai, with an area of 12,543 sq.kms.It is administratively divided into 13 Amphoes : Muang, Chae Hom, Hang Chat, Ko Kha, Mae Mo, Mae Phrik, Mae Tha, Ngao, Soem Ngam, Sop Prap, Thoen, Wang Nua, and Muang Pan.Lampang lays claim to two unique features : it is the sole Thai town still using colourful horse drawn carriages as a means of everyday urban transport, and it claims to have the world's only training school for baby elephants. Both attractions account for the bulk of Lampang's Thai and foreign visitors.

ล้านนาเซรามิกแฟร์ ลำปาง53

"ล้านนาเซรามิกแฟร์" ระหว่างวันที่ 7-15 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม ถ.พหลโยธิน ลำปาง-ตาก ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ภายในงานมีนิทรรศการเกี่ยวกับเซรามิก การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกจากฝีมือคนไทย การจำหน่ายสินค้า OTOP และความบันเทิงมากมาย สอบถามเพิ่มได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง 054-265022-3